พะเยาผักตบชวา

ยินดีต้อนรับ

กระบวนการและขั้นตอนในการดำเนินงาน

ในการผลิต กลุ่มมีการแบ่งงานกันทำตามความสามารถของแต่ละคน ตามขั้นตอน การผลิต ดังนี้

1. ตัดผักตบชวา กลุ่มจะมีวิธีการได้มาทั้งจากการหาได้เองจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น กว๊านพะเยา/ แหล่งน้ำต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ตำบล

2. นำผักตบชวามาตากแดดให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 3 – 5 วัน หรือจนกว่าจะแห้งสนิท

3. เมื่อแห้งแล้ว จึงนำมาอบกำมะถัน อบนาน 1 วัน เพื่อให้คงสีสวยงาม เหนียวนุ่ม และป้องกันเชื้อรา

4. นำผักตบชวาที่อบกำมะถันมาผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาคัดเลือกเส้นเพื่อจัดสาน

5. นำก้านผักตกชวามาตัดเป็นเส้น เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ หรือหากต้องการสีต้องนำก้านผักตบชวามาย้อมสี

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

1. ก้านผักตบชวา
2. สีย้อม ใช้ย้อมก้านหรือเส้นผักตบชวาที่เลือกแล้ว ก่อนที่จะนำมาจักสาน เพื่อให้เกิดความสวยงาม
3. น้ำมันวานิช ( แลกเกอร์) ใช้ทาเคลือบผิวผลิตภัณฑ์ที่จักสานเสร็จแล้วเพื่อป้องกันเชื้อรา รักษารูปทรง และเพิ่มความเงางาม โดยหาซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้านหรือตลาดในเมืองแลกเกอร์
4. เตาอบกำมะถัน ใช้สำหรับอบเส้นผักตบชวา และผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่จักสานเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อฆ่าเชื้อราและป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา ก่อนที่นำไปทาเคลือบผิวด้วยน้ำมันวานิช
5. ผ้าพื้นเมือง ผ้าฝ้าย หรือผ้าใยกัญชง ใช้สำหรับบุภายในกระเป๋า ตะกร้า หรือผลิตภัณฑ์ผักตบชวาอื่น ๆ เพื่อให้ดูสวยงามและน่าใช้สอย
6. ไม้ไผ่ หรือหวาย ใช้สำหรับประกอบและตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม โดยท้องถิ่นประยุกต์ใช้ไม้ไผ่มากกว่าหวายซึ่งมีราคาแพงกว่า เพื่อลดต้นทุนการผลิต
7. เข็มขนาดใหญ่และสายเอ็นร้อย/ ด้ายสำหรับสอย ใช้สอยผ้าที่บุตะกร้า กระเป๋า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สอยกระดุม ซิป หูกระเป๋า เป็นต้น
8. กรรไกร ใช้ตัดผ้า ด้าย และเอ็นสอย หรือตัดตกแต่งเส้นผักตบชวาให้ได้ขนาดและเหมาะแก่การจักสาน
9. วัสดุประกอบ เช่น ซิป สายหนัง เป็นต้น
10. แปรงทาสี ใช้สำหรับชุบน้ำมันวาณิชทาเคลือบผิวนอกของผลิตภัณฑ์
11. แบบพิมพ์ เมื่อกลุ่มมีการคิดออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือลูกค้าสั่งซื้อ โดยกำหนดรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม กลุ่มก็สามารถผลิตสินค้าได้ตามที่ลูกค่าต้องการ โดยสร้างแบบพิมพ์ผลิตภัณฑ์ได้เอง พร้อมทั้งส่งแบบพิมพ์นั้นให้กลุ่ม/ เครือข่ายที่ผลิต เพื่อผลิตสินค้าให้เป็นแบบเดียวกัน

ขั้นตอนการย้อมสี

1. ต้มน้ำให้เดือด
2. ตักน้ำออกพอประมาณเพื่อนำไปผสมสี การผสมสี สี 1 ซอง ต่อน้ำ 1 ลิตร แล้วผสมน้ำส้มสายชู เกลือ ใส่พอประมาณ การใส่เกลือและน้ำส้มสายชู ใส่เพื่อให้สีไม่ติดมือ คนให้เข้ากัน แล้วเทลงในน้ำเดือดที่เหลือ คนให้ทั่วกันอีกครั้ง
3. นำผักตบชวาที่แห้งใส่ลงไป พลิกกลับไปกลับมาประมาณ 1 นาที

4. นำก้านผักตบชวาที่ย้อมสีไปล้างน้ำสะอาด

5. นำไปตากแดดให้แห้ง
6. นำมาถักตามแบบที่ต้องการ นำต้นผักตบชวาที่ตากแห้งและย้อมสีแล้วมาชุบน้ำก่อนจะเริ่มจักสานตามแบบพิมพ์ ลวดลายที่จักสานมีหลายลาย เช่น ลายเปีย ซึ่งเป็นลายที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เกือบทุกรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีลายเม็ดข้าว ลายมะยม ลายน้ำไหล ลายสอง ลายดอกแก้ว และลายสับปะรด เป็นต้น สำหรับรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีหลายแบบ เช่น – ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น หมวก กรอบรูป รองเท้า ของชำร่วย แจกัน ที่ใส่กระดาษทิชชู เป็นต้น

7. นำมาเคลือบเงา หรือทาวานิช

8. นำมาบุผ้า หลังจากจักสานเรียบร้อยแล้ว จึงนำมาบุภายในด้วยผ้า ใส่ซิป ใส่หูกระเป๋า และทาเคลือบผิวนอกด้วยน้ำมันวาณิช แล้วผึ่งแดดให้แห้งประมาณครึ่งวัน ก่อนจะนำมาเก็บไว้ในโรงเรือนเพื่อเตรียมบรรจุลงถุง หรือกล่องส่งให้ลูกค้า หรือนำไปจัดแสดงและจำหน่ายในเทศกาลต่าง ๆ

9. วางจำหน่ายหน้าร้าน

การจัดการด้านการผลิต

1. ปัจจุบันกลุ่มหัตถกรรมผักตบชวาตำบลสันป่าม่วง มีสมาชิกเครือข่าย 620 คน
2. สมาชิกผลิตสินค้าตลอดทั้งปี ส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
3. สินค้ามีคุณภาพ มีหลากหลายรูปแบบ ตามความต้องการของลูกค้า
4. สมาชิกมีการรวมกลุ่ม และแบ่งงานกันทำ ตามคำสั่งซื้อ

การจัดการด้านการตลาด

1. การจัดจำหน่ายโดยกลุ่ม
- วางจำหน่ายภายในจังหวัดพะเยา ได้แก่ ศูนย์ OTOP หน้าัวัดศรีโคมคำ ร้านค้าจังหวัด นักท่องเที่ยว และคณะบุคคลต่างๆ ที่มาเที่ยวชมศึกษาดูงาน ยอดจำหน่ายประมาณ 20 %
- กลุ่มขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง ที่นำไปจำหน่ายยังสถานที่ต่างๆ ภายในประเทศ ยอดจำหน่าย ประมาณ 60%
2. การจัดจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้อในหมู่บ้าน
- กลุ่มจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อ (Order) ให้กับพ่อค้าคนกลางนำไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ยอดจำหน่าย 20%

ติดต่อสั่งซื้อทางLine ID : @puktob (มีแอดด้วย)

กดที่นี่เพื่อสั่งซื้อสินค้า